ก่อนวิ่งหรือปั่นจะทานอะไรดีนะ ???

บางทีเราก็ขี้เกียจตื่น กินอาหารก็ไม่ลง แล้วถ้ากินจะ

กินอะไรดี กลัวกินเยอะเดี๋ยวก็จุก … 

ทานน้อยก็หมดแรงกลางทาง … 

ตะคริวมาอีก … 

➡ เวลาเราวิ่งร่างกายใช้พลังงานจากไหน ❓❓

?ร่างกายเราใช้พลังงานในการออกกำลังกายจาก 2 แหล่งหลักๆ คือ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน

?คาร์โบไฮเดรต – เก็บสะสมในรูปของไกลโคลเจน (glycongen) ที่ กล้ามเนื้อเป็นหลัก รองลงมาคือ ในตับ แต่มันเก็บได้อย่างจำกัดหน่ะสิ

(ถ้าเก็บเต็มถัง ก็จะวิ่งได้ต่อเนื่องประมาณ 1.5 – 2 ชม.ก่อนที่แรงจะเริ่มหมด ทั้งนี้ขึ้นกับ ความหนักหรือความเร็วในการวิ่ง)

เลยเกิดปัญหาว่า พอวิ่งไปนานๆ ไกลโคลเจนก็จะหมด เหมือนรถยนต์น้ำมันจะหมด

?ไขมัน – ให้พลังงานเยอะกว่าคาร์โบไฮเดรต แต่ปัญหาคือมัน ให้มันพลังงานช้า ถ้าเราวิ่งเร็วมันจะให้พลังงานเราไม่ทัน

ซึ่งแน่นอนว่าเวลาเราลงสนาม อยากทำเวลาได้ดี อยากได้ new pb 
เราก็ต้องพยายามวิ่งให้เร็วขึ้น เหนื่อยขึ้น heart rate ยิ่งขึ้นสูง ร่างกายจะใช้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ

➡ ถ้าพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตใกล้หมดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

? ร่างกายก็จะลดความเร็วลง (pace เพิ่มขึ้น) เพื่อปรับมาใช้พลังงานจากไขมันแทน … แต่ถ้าเรายังฝืนไปต่อด้วยความเร็วเดิม ขาเราจะเริ่มหนักขึ้น จนตะคริวตามมา 

โจทย์ของเราจึงอยู่ที่ว่า

➡ “ทำยังไงให้มีพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต เพียงพอต่อการวิ่งระยะนั้นๆ ??? “

? แน่นอนว่าการเติมพลังงานให้เต็มก่อนแข่ง เป็นวิธีการที่ดีที่สุด 

1. เพราะก่อนวิ่ง เลือดยังไม่ถูกนำไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเยอะ ทำให้ระบบการย่อยและดูดซึมทำงานได้ดี เราจึงควรตุนพลังงานให้ได้มากที่สุด

2. ระหว่างวิ่งการดูดซึมจะทำงานได้ไม่ดี เพราะเลือดส่วนใหญ่ไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อ เลือดมาเลี้ยงที่ระบบย่อยอาหารน้อย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่าง)

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1444549129007090&id=338763396252341

⛤ หมายความว่า ถ้าเราใช้พลังงานชั่วโมงละ 400 แคลอรี่ เราไม่สามารถเติมกลับ เท่ากับที่ใช้ได้ 

3. การเริ่มวิ่งหรือออกกำลังกายตอนเช้า เป็นช่วงเวลา ที่ร่างกายเรา อดอาหารมาทั้งคืน ทำให้พลังงานสะสมในร่างกายลดต่ำลง

หากเราไม่กินข้าวเช้าแล้วไปวิ่ง ประสิทธิภาพในการวิ่งจะไม่ดี 

ถ้าวิ่งมินิ อาจรอดได้เพราะใช้เวลาแปปเดียว แต่หลังวิ่งเสร็จ จะเพลียและโหยมาก

ถ้าฮาล์ฟหล่ะ โอกาสรอดน้อยมาก ถ้าไม่ใช่นักวิ่งแนวหน้า ที่วิ่งแปปเดียวถึง … ส่วนฟูลมาราธอนยังไงก็ต้องทาน

➡ ทานอะไรดีหล่ะ ไม่ให้จุกแต่มีแรง

? หลักการ คือ เมื่อเราเริ่มวิ่ง อาหารที่เหลืออยู่ในกระเพาะอาหารต้องน้อยที่สุด (ถูกดูดซึมและนำไปเก็บไว้ใช้ระหว่างวิ่ง) เพื่อไม่ให้จุก และ ไม่รบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อที่เราใช้ในการวิ่ง (เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ต้องถูกแบ่งมาใช้ย่อย) 

? สารอาหารที่ย่อยและดูดซึมเร็วที่สุด คือ คาร์โบไฮเดรต รองลงมาคือ โปรตีน และ ไขมัน ตามลำดับ …

? รูปแบบอาหารที่เป็นของเหลวจะดูดซึมเร็วกว่าของแข็ง

?อาหารที่มีปริมาณน้อยจะดูดซึมเร็วกว่า

ถ้ามีเวลาก่อนวิ่งนานๆ (3-4 ชม.) จะทานอาหารเป็นมื้อๆ ได้สบายมาก ระวังอาหารที่มีไขมันเยอะๆ เช่น อาหารทอด หรือ ผัดน้ำมันเยอะๆ เพราะจะใช้เวลาย่อยนาน ทำให้อืดท้อง

แต่ถ้ามีเวลาน้อยลง (1-2 ชม.) พยายามลดไขมันให้น้อยที่สุด มีโปรตีนได้บ้าง และ เน้นไปที่คาร์โบไฮเดรต เช่น แซนด์วิชไส้ทูน่า หรือ ไข่ต้ม ซาลาเปา … อาจทานข้าวได้ แต่ ต้องลดสัดส่วนจากมื้อหลักลง

หากเรามีเวลาน้อยกว่า 1 ชม.ก่อนวิ่งควรทานพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว ถ้าเป็นของเหลวด้วยยิ่งดี ให้มีโปรตีนกับไขมันน้อยที่สุด เช่น ขนมปังทาแยม ผลไม้ น้ำผลไม้ หรือ DEVER 100 ml 

DEVER energy gel 100 mL 

เจลให้พลังงานแบรนด์แรกของเมืองไทย ?????ถูกวิจัยและพัฒนา?โดยความร่วมมือกันของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักกีฬามืออาชีพ

• เนื้อสัมผัสเป็นแบบเยลลี่ ให้พลังงาน 330 แคลอรี่

• ให้พลังงานเท่ากับข้าว 2 ถ้วยเล็ก ??หรือกล้วยหอมประมาณ 3 ลูก ???

• ให้พลังงานได้นาน 1.5 – 2 ชั่วโมง

• ดูดซึมได้ง่ายและเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 5 – 10 นาที) 

• รับประทานแทนมื้ออาหารหลักก่อนออกกำลังกายเพียง 15 – 30 นาที เช่น ตอนเช้าในช่วงเวลาเร่งรีบ หรือ ตอนเย็นหลังเลิกเรียนหรือเลิกงาน … ทานระหว่างออกกำลังกายในกรณีที่ออกกำลังกายต่อเนื่องยาวนาน … หรือหลังออกกำลังกายทันที เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย

• ช่วยให้ร่างกายออกแรงได้มากขึ้นและนานขึ้น

• ลดการเกิดตะคริว 

ถ้าได้ลอง DEVER แล้วจะรู้ว่า เจลรสชาติอร่อยๆ ทานง่าย ให้ผลจริง ก็มีอยู่
เพราะ DEVER ดีต่อใจ และ ร่างกาย ด้วย

#dever
#deverenergy
#deverenergygel
#พาวเวอร์เจล
#powergel
#marathon
line id: @deverenergy
www.deverenergy.net