เริ่มกินเจลต้องกินยังไง ❓❓

อย่างที่เรารู้กันว่า ในการออกกำลังกาย ยิ่งเหนื่อยมาก ความหนักมาก หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายจะใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก 

ปัญหา คือ 

1. ร่างกายเราเก็บพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต (ไกลโคเจน)ที่กล้ามเนื้อและตับได้จำกัด ถ้าไกลโคเจนเหลือต่ำกว่า 30-50% ร่างกายจะเริ่มแสดงอาการเมื่อยล้า และ performance จะลดลง

2. ขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก แต่ไม่สามารถ กิน ให้ เท่ากับ พลังงานที่เราใช้ (energy output > energy intake) เนื่องจาก การทำงานของระบบการย่อยและการดูดซึมจะลดลง 

คำถามของ ผู้ที่ออกกำลังกาย จึงมีอยู่ว่า …
” ทำอย่างไรให้ กิน ให้ได้พลังงานเพียงพอ เพื่อที่จะออกกำลังกายได้ต่อเนื่อง นานขึ้น เมื่อเรามีข้อจำกัดในการย่อยและดูดซึมอาหาร ??? “

?energy gel คืออะไร ??

?energy gel ไม่ใช่อาหารเสริม เป็นอาหารธรรมดา ที่มี สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก…
เหมือนเราทานข้าว กล้วยหรือขนมปัง เพียงแต่มันถูกย่อยมาแล้ว เราจึงไม่ต้องเคี้ยวและรอเวลาย่อย … energy gel พร้อมที่จะดูดซึมและเปลี่ยนเป็นพลังงานทันที เราทานในปริมาณที่น้อยแต่ให้พลังงานสูงทำให้ไม่เสี่ยงต่ออาการจุกเหมือนเราทานอาหารที่เป็นของแข็ง… จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกายทันที

?energy gel ช่วยอะไร??

? การทานเจลเปรียบเสมือนการเติมน้ำมันให้ร่างกาย ช่วยให้ออกกำลังกายต่อเนื่องได้นานขึ้น โดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
(hypoglycemia) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหน้ามืดและเวียนหัว เวลาที่เราออกกำลังกายต่อเนื่องนานๆ

?ทานกล้วยหรือแตงโม ต่างกับทานเจล อย่างไร ?? 

?กล้วยและแตงโมใช้เวลาในการย่อยและดูดซึมนานกว่าเจล และต้องทานในปริมาณมากกว่าถึงได้พลังงานเท่ากับเจล

?เลือก energy gel แบบไหนดี ??

? เจลแต่ละยี่ห้อไม่ได้ต่างกันแค่รสชาติและความยากง่ายในการทาน 
แต่ยังแตกต่างที่ส่วนประกอบภายในเจล ระดับความเข้มข้น ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมของร่างกาย

เจลที่ดีควรมีความเข้มข้นที่ใกล้เคียงกับความเข้มข้นเลือด จะทำให้ดูดซึมได้เร็ว และมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต หลายชนิด ที่มีสัดส่วนเหมาะสม ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ได้หลายช่องทาง ทำให้ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตถูกดูดซึมและเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น #deverenergygel

?ร่างกายเราควรเติมคาร์โบไฮเดรตตอนไหนและปริมาณเท่าไหร่

บางคนบอกทุก 10 กิโลบ้าง 14 กิโลบ้าง… บางคนบอกตอนที่เริ่มหมดแรง

? ถ้าเรารู้ว่าออกกำลังกายต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมงครึ่ง เราควรเติมพลังงานระหว่างออกกำลังกาย เพื่อให้ออกกำลังกายต่อเนื่องได้ โดยประสิทธิภาพของการออกกำลังกายยังเหมือนเดิม …

Tips

?เริ่มทานตั้งแต่เนิ่นๆ หลังจากผ่านไปประมาณ 45 นาที (เพราะระบบการย่อยและดูดซึมยังทำงานได้ดี) และทานทุกๆ 45 – 60 นาทีระหว่างการแข่งขัน จนกว่าจะจบการแข่งขัน

ถ้าเริ่มทานตอนใกล้หมดแรง การดูดซึมจะทำได้ไม่ดี เพราะเลือดไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหมด

? ควรเริ่มใช้เจลจากตอนฝึกซ้อม แล้วดูว่าร่างกายเราตอบสนองอย่างไรโดย ลองจากปริมาณที่ต่ำที่สุดก่อน 

” 1 ซอง ทุกๆ 1 ชั่วโมง ” หรือทุกๆ 10-12 กม.ในบุคคลทั่วไป 

สักระยะนึงเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว แล้วค่อยๆเพิ่ม เป็น 

“1 ซองทุกๆ 45 นาที” หรือทุกๆ 7-8 กม. 

?สำหรับคนที่รูปร่างใหญ่ หรือ หมดแรงง่ายควรเพิ่มปริมาณหรือความถี่ในการทาน

?ควรจำลองสถานการณ์การแข่งในระหว่างการฝึกซ้อม แล้วฝึกทานเจล เพื่อให้รู้ timing ในการทานเจลที่เหมาะสมและได้ประสิทธิผลมากที่สุด

?ควรฝึกให้ระบบย่อยคุ้นเคย กับการรับประทานในสภาวะที่ร่างกายเหนื่อยมากๆ เช่น Tempo run, ช่วงท้ายๆของการฝึกซ้อมหรือ long run , ระหว่าง interval sets เพื่อให้ระบบย่อยปรับตัวรับปริมาณพลังงานจากอาหารได้มากขึ้น

? ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำให้ทาน ในกรณีที่เราออกกำลังกายต่อเนื่อง

♦1-2 ชม.(วิ่งระยะฮาล์ฟ) 

➡ 30 กรัมต่อชั่วโมง 

(Dever 40 ml 1 ซองหรือ Dever 100 ml 1/2 ซอง)

♦2-3 ชม. (วิ่งระยะฮาล์ฟ หรือ ระยะฟูลกลุ่ม elite, การฝึกซ้อมกีฬาโดยทั่วๆไป

➡60 กรัมต่อชั่วโมง

(Dever 40 ml 2 ซองหรือ Dever 100 ml 2/3 ซอง) โดยแบ่งรับประทานทุกครึ่ง ชม.

♦3 ชั่วโมงขึ้นไป (ระยะฟูลมาราธอน และ ironman)

➡ 90 กรัมต่อชั่วโมง
(Dever 100 ml 1 ซอง)

Guideline ด้านบนเป็นคำแนะนำคร่าวๆ นักกีฬาควรปรับปริมาณตามความเหมาะสมของตนเอง

พบกับสาระด้านโภชนาการจากโดยเชี่ยวชาญจาก DEVER ได้ที่

Line id : @deverenergy
Facebook : dever energy gel
IG: deverenergy

#deverenergy
#deverenergygel
#deverenergychews
#thairun
#devernutrition

ก่อนวิ่งต้องกินมั้ยย ❓❓

ขี้เกียจตื่น กินก็ไม่ลง แล้วถ้ากินจะ

กินอะไรดี กลัวกินเยอะเดี๋ยวก็จุก … 

ทานน้อยก็หมดแรงกลางทาง … 

ตะคริวมาอีก … 

➡ เวลาเราวิ่งร่างกายใช้พลังงานจากไหน ❓❓

?ร่างกายเราใช้พลังงานในการออกกำลังกายจาก 2 แหล่งหลักๆ คือ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน

?คาร์โบไฮเดรต – เก็บสะสมในรูปของไกลโคลเจน (glycongen) ที่ กล้ามเนื้อเป็นหลัก รองลงมาคือ ในตับ แต่มันเก็บได้อย่างจำกัดหน่ะสิ

(ถ้าเก็บเต็มถัง ก็จะวิ่งได้ต่อเนื่องประมาณ 1.5 – 2 ชม.ก่อนที่แรงจะเริ่มหมด ทั้งนี้ขึ้นกับ ความหนักหรือความเร็วในการวิ่ง)

เลยเกิดปัญหาว่า พอวิ่งไปนานๆ ไกลโคลเจนก็จะหมด เหมือนรถยนต์น้ำมันจะหมด

?ไขมัน – ให้พลังงานเยอะกว่าคาร์โบไฮเดรต แต่ปัญหาคือมัน ให้มันพลังงานช้า ถ้าเราวิ่งเร็วมันจะให้พลังงานเราไม่ทัน

ซึ่งแน่นอนว่าเวลาเราลงสนาม อยากทำเวลาได้ดี อยากได้ new pb 
เราก็ต้องพยายามวิ่งให้เร็วขึ้น เหนื่อยขึ้น heart rate ยิ่งขึ้นสูง ร่างกายจะใช้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ

➡ ถ้าพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตใกล้หมดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

? ร่างกายก็จะลดความเร็วลง (pace เพิ่มขึ้น) เพื่อปรับมาใช้พลังงานจากไขมันแทน … แต่ถ้าเรายังฝืนไปต่อด้วยความเร็วเดิม ขาเราจะเริ่มหนักขึ้น จนตะคริวตามมา 

โจทย์ของเราจึงอยู่ที่ว่า

➡ “ทำยังไงให้มีพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต เพียงพอต่อการวิ่งระยะนั้นๆ ??? “

? แน่นอนว่าการเติมพลังงานให้เต็มก่อนแข่ง เป็นวิธีการที่ดีที่สุด 

1. เพราะก่อนวิ่ง เลือดยังไม่ถูกนำไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเยอะ ทำให้ระบบการย่อยและดูดซึมทำงานได้ดี เราจึงควรตุนพลังงานให้ได้มากที่สุด

2. ระหว่างวิ่งการดูดซึมจะทำงานได้ไม่ดี เพราะเลือดส่วนใหญ่ไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อ เลือดมาเลี้ยงที่ระบบย่อยอาหารน้อย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่าง)

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1444549129007090&id=338763396252341

⛤ หมายความว่า ถ้าเราใช้พลังงานชั่วโมงละ 400 แคลอรี่ เราไม่สามารถเติมกลับ เท่ากับที่ใช้ได้ 

3. การเริ่มวิ่งหรือออกกำลังกายตอนเช้า เป็นช่วงเวลา ที่ร่างกายเรา อดอาหารมาทั้งคืน ทำให้พลังงานสะสมในร่างกายลดต่ำลง

หากเราไม่กินข้าวเช้าแล้วไปวิ่ง ประสิทธิภาพในการวิ่งจะไม่ดี 

ถ้าวิ่งมินิ อาจรอดได้เพราะใช้เวลาแปปเดียว แต่หลังวิ่งเสร็จ จะเพลียและโหยมาก

ถ้าฮาล์ฟหล่ะ โอกาสรอดน้อยมาก ถ้าไม่ใช่นักวิ่งแนวหน้า ที่วิ่งแปปเดียวถึง … ส่วนฟูลมาราธอนยังไงก็ต้องทาน

➡ ทานอะไรดีหล่ะ ไม่ให้จุกแต่มีแรง

? หลักการ คือ เมื่อเราเริ่มวิ่ง อาหารที่เหลืออยู่ในกระเพาะอาหารต้องน้อยที่สุด (ถูกดูดซึมและนำไปเก็บไว้ใช้ระหว่างวิ่ง) เพื่อไม่ให้จุก และ ไม่รบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อที่เราใช้ในการวิ่ง (เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ต้องถูกแบ่งมาใช้ย่อย) 

? สารอาหารที่ย่อยและดูดซึมเร็วที่สุด คือ คาร์โบไฮเดรต รองลงมาคือ โปรตีน และ ไขมัน ตามลำดับ …

? รูปแบบอาหารที่เป็นของเหลวจะดูดซึมเร็วกว่าของแข็ง

? อาหารที่มีปริมาณน้อยจะดูดซึมเร็วกว่า

ถ้ามีเวลาก่อนวิ่งนานๆ (3-4 ชม.) จะทานอาหารเป็นมื้อๆ ได้สบายมาก ระวังอาหารที่มีไขมันเยอะๆ เช่น อาหารทอด หรือ ผัดน้ำมันเยอะๆ เพราะจะใช้เวลาย่อยนาน ทำให้อืดท้อง

แต่ถ้ามีเวลาน้อยลง (1-2 ชม.) พยายามลดไขมันให้น้อยที่สุด มีโปรตีนได้บ้าง และ เน้นไปที่คาร์โบไฮเดรต เช่น แซนด์วิชไส้ทูน่า หรือ ไข่ต้ม ซาลาเปา … อาจทานข้าวได้ แต่ ต้องลดสัดส่วนจากมื้อหลักลง

หากเรามีเวลาน้อยกว่า 1 ชม.ก่อนวิ่งควรทานพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว ถ้าเป็นของเหลวด้วยยิ่งดี ให้มีโปรตีนกับไขมันน้อยที่สุด เช่น ขนมปังทาแยม ผลไม้ น้ำผลไม้ หรือ DEVER 100 ml 

DEVER energy gel 100 mL 

เจลให้พลังงานแบรนด์แรกของเมืองไทย ?????ที่ถูกวิจัยและพัฒนา?โดยความร่วมมือกันของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักกีฬามืออาชีพ

• เนื้อสัมผัสเป็นแบบเยลลี่ ให้พลังงาน 330 แคลอรี่

• ให้พลังงานเท่ากับข้าว 2 ถ้วยเล็ก ??หรือกล้วยหอมประมาณ 3 ลูก ???

• ให้พลังงานได้นาน 1.5 – 2 ชั่วโมง

• ดูดซึมได้ง่ายและเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 5 – 10 นาที) 

• รับประทานแทนมื้ออาหารหลักก่อนออกกำลังกายเพียง 15 – 30 นาที เช่น ตอนเช้าในช่วงเวลาเร่งรีบ หรือ ตอนเย็นหลังเลิกเรียนหรือเลิกงาน … ทานระหว่างออกกำลังกายในกรณีที่ออกกำลังกายต่อเนื่องยาวนาน … หรือหลังออกกำลังกายทันที เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย

• ช่วยให้ร่างกายออกแรงได้มากขึ้นและนานขึ้น

• ลดการเกิดตะคริว 

ถ้าได้ลอง DEVER แล้วจะรู้ว่า เจลรสชาติอร่อยๆ ทานง่าย ให้ผลจริง ก็มีอยู่
เพราะ DEVER ดีต่อใจ และ ร่างกาย ด้วย

#deverenergy
#deverenergygel
line id: @deverenergy อย่าลืมใส่ @ ก่อนนะจ้ะ
www.deverenergy.net